Welcome to my blog, hope you enjoy reading
RSS

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

code facebook

<div id="fb-root"></div><script>(function(d, s, id) {  var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];  if (d.getElementById(id)) return;  js = d.createElement(s); js.id = id;  js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1&appId=100001561524166";  fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script> <div class="fb-comments" data-href="http://mungnan.blogspot.com" data-num-posts="20" data-width="650"></div&...

หัวใจของการศึกษา

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี 
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน" 

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว 
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"

สำรองห้องพัก

น่าน

น่าน ที่พัก 42 แห่ง


ประวัติเมืองน่าน

ประวัติศาสตร์

เมืองน่าน ในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขา ในหุบเขา ทางตะวันออกของภาคเหนือ
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อน กันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และ ขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานาน และมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอย ู่เมืองย่างและมอบให้ชายา คือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน
ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง บ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปิน พร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราดภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพ มาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมือง ปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 รวม 30 ปี จึงพิราลัย
ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์ กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมือง มาบูชา ณ เมืองปัวด้วย
พญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง
หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือ พญาผากองขึ้นครองแทนอยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950 - 1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริษ์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่าน และแหล่งเกลือ บ่อมาง (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึด เมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน ได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น
ในระหว่างปี พ.ศ. 2103 - 2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247 - 2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ 2321 - 2344
น่านที่น่าอยู่
                    ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เพื่อขอเป็น ข้าขอบขันทสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่านยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่าน ยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรมมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้ทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่าน และอุปถัมภ์ค้ำจูนพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้ เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลางพระบาง
ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศา ธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน
ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ จึงได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญ
และในปี พ.ศ. 2474 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จนกระทั่งปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แหล่งท่องเที่ยวเมืองน่าน

ท่องเที่ยวทั่วน่าน
    น่านมีย่านใจกลางเมืองเก่าที่มีเสน่ห์  เพราะเต็มไปด้วยวัดวาที่สวยงามด้วยศิลปะเฉพาะตัวโดดเด่นอย่าง  วัดภูมินทร์หรือวัดพระธาตุช้างค้ำ รวมทั้งมีหอคำของเจ้าผู้ครองนครน่านที่เดี๋ยวนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชม สามารถเดินเท้าเที่ยวชมได้ครบหมด  แถมเขายังย้ายสายไฟระเกะระกะลงใต้ดินยิ่งทำให้บรรยากาศย่านนั้นชวนมอง  แล้วถ้าก่อนจะไปเที่ยววัดอยากไปเดินตลาดเช้า ไปดูว่าผู้คนถิ่นนี้เขาอยู่เขากินอะไรกัน  เดี๋ยวจะพาแวะชมรวมถึงร้านอาหารมื้อเช้าสำหรับเติมพลังเต็มเปี่ยมก่อนออกไปเดินชมเมืองกันด้วย

แต่ก่อนจะออกตระเวนเที่ยวตัวเมืองน่านกัน  ขอชวนให้เปิด Control Panel ของตัวเอง แล้วเปลี่ยน Power Plan จาก High Performance มาเป็น Power Save กันก่อน
มาเที่ยวน่านทั้งที  ต้องทิ้งชีวิตเร่งร้อน เร่งรีบ เร่งด่วน เอาไว้ที่เมืองที่จากมา  แล้วหันมาดื่มด่ำกับการใช้ชีวิตช้า ๆ สบาย ๆ ที่น่านกัน





เพราะน่านเขาเป็นเมืองขนาดกะทัดรัด  ผู้คนไม่หนาแน่น ชีวิตที่นี่ก็เลยยังเดินไปในจังหวะเนิบนาบ  รถจักรยานก็มีเห็นปั่นกันอยู่ทั่วไป





ปั่นกันสบาย ๆ ไม่มีรถบีบแตรไล่  เพราะเมืองน่านเป็นเมืองจักรยาน





แล้วตามแยกไฟแดง ช่วงที่ถนนว่างแสนจะว่าง ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้าตรู่หรือยามค่ำ  เราก็จะเห็นคนน่านจอดรถรอไฟแดงกันอย่างสบาย ๆ
(ได้เห็นรถที่กระโจนฝ่าไฟแดงไปเหมือนกัน เห็นแล้วก็ร้อง ฮั่นแน่!!  คนน่านก็ฝ่าไฟแดงเหมือนกันล่ะน่า  แต่ก็ต้องแอบอาย เพราะเป็นรถทะเบียนกรุงเทพฯ นี่ล่ะ 555)




ใครอยากจะปั่นจักรยานเที่ยว ก็ต้องบอกว่า "ได้เลย" เพราะถนนรถราไม่เยอะนัก
หรือบางช่วงที่รถมากหน่อยแต่ความที่ในเมืองมีแยกไฟแดงอยู่ติด ๆ กัน  ก็พลอยทำให้รถที่นี่วิ่งกันช้า ๆ อย่างที่ไม่รู้จะรีบไปไหน  เพราะเดี๋ยวก็เจอแยกไฟแดงอีกแล้ว

บอกว่าแยกไฟแดงเยอะ อย่าเพิ่งรู้สึกเบื่อนึกว่าแดงทีจะนานเหมือนใน กทม. เพราะแต่ละไฟแดงนานสุดที่ให้หยุดรอที่เจอมา แค่ 25 วินาทีเท่านั้นเอง





เอาล่ะเปลี่ยนโหมดกันเรียบร้อย  พร้อมไปเที่ยวกันแล้ว

วัดสำคัญ ๆ น่ามาชมของน่านหลายวัดจะอยู่ใกล้ ๆ กัน ในย่านที่เรียกว่า "ข่วงเมือง" ที่หมายถึงลานใจกลางเมือง  ว่าง่าย ๆ ก็เหมือนตรงย่านสนามหลวงในกรุงเทพ ที่มีทั้งวังและวัดสำคัญหลายวัดตั้งอยู่   เหมาะจะค่อยๆ เดินเที่ยว เข้าวัดโน้นออกวัดนี้

แนะนำว่าควรออกมาเดินเที่ยวกันตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่  ข้อดีก็คือ อากาศยังไม่ร้อน  แสงอ่อน ๆ ยามเช้าก็ถ่ายรูปสวย  เรียกว่าเดินเที่ยวกันได้เพลิดเพลินเบิกบานใจ  ดีกว่าออกมาสายเข้าได้วัดสองวัด แดดก็แรงจนไม่อยากไปไหนต่อเสียแล้ว

มาเริ่มกันที่ วัดภูมินทร์  วัดสำคัญของน่านที่ไม่ว่าใครก็ต้องแวะมาที่วัดนี้กันทั้งนั้น





ตัวสถาปัตยกรรมจตุรมุข ที่เป็นทั้ง โบสถ์ วิหาร และเจดีย์ พร้อมในหลังเดียวของวัดภูมินทร์ เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของที่นี่ จนครั้งหนึ่งได้รับเลือกให้ไปพิมพ์บนธนบัตร





แต่แหมช่วงหน้าหนาวพระอาทิตย์อ้อมลงใต้ หน้าวัดที่หันไปทางทิศเหนือก็เลยเป็นมุมย้อนแสง  ว่าแล้วก็ขอถ่ายรูปวิหารแบบย้อนแสงแบบนี้มาฝากกันซะเลย





ด้านหน้ามีนาคสองตัวทอดตัวยาว





จนทะลุออกมาด้านหลัง เหมือนจะแบกวิหารทั้งหลังเอาไว้





R0031935
วิหารจตุรมุขก็คือ มีมุขยื่นออกไป 4 ด้าน  ข้างในก็เลยมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 องค์ หลังหันหลังชนกัน หันหน้าออกไปทั้ง 4 ทิศด้วย





ส่วนที่บอกว่านอกจากเป็นโบสถ์และวิหารในตัวยังเป็นเจดีย์ด้วย  ฐานของเจดีย์คือส่วนที่อยู่ด้านหลังองค์พระ





แล้วก็ไปมียอดของเจดีย์อยู่บนหลังคา  มีฉัตร 5 ชั้นประดับอยู่ด้านบน





นอกจากรูปทรงของอาคารที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว  ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่คาดกันว่าน่าจะวาดขึ้นในช่วงที่มีการบูรณะวัดครั้งใหญ่เมื่อปี 2410 ในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน  ซึ่งช่วงนั้นก็ตรงกับปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อรัชกาลที่ 5  ก็ยังเป็นภาพจิตรกรรมที่มีลักษณะโดดเด่น แปลกตากว่าที่เคยเห็น ๆ

แปลกที่ว่าก็คือ  ภาพคนที่มักจะเห็นวาดกันตัวจิ๋ว ๆ โดยเฉพาะยิ่งถ้าเป็นคนสามัญที่ไม่ใช่ตัวเด่นในเรื่อง  แต่ที่นี่วาดภาพของคนธรรมดาในขนาดที่ใหญ่  ส่วนภาพตัวหลักของเรื่องบางภาพแทบจะเป็นขนาดเท่าคนจริงกันเลยทีเดียว





สำหรับเรื่องราวของภาพจิตรกรรมที่นี่  ภาพวาดที่อยู่ตอนบน ด้านหนึ่งจะเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรม อีกด้านเป็นตอนปรินิพพาน

เล็ง ๆ ดูแล้วทั้งสองภาพน่าจะมีคติธรรมสอดแทรกให้เราได้ครุ่นคิดต่ออยู่เหมือนกัน  อย่างภาพการแสดงธรรมนี้ ก็มีพระที่พนมมือถือดอกบัวที่บานแล้ว หันไปมองเพื่อนพระที่มัวแต่คร่ำเคร่งอ่านคัมภีร์  ราวกับจะเตือนใจเรา ๆ ที่ชอบเป็นนักอ่าน นักคิดว่า มัวแต่อ่านท่องหนังสือธรรมะ แต่ไม่ได้ลงมือทำสักที ก็ยากจะบรรลุถึงธรรมได้





ส่วนตัวเรื่องที่วาดหลัก ๆ บนผนัง 3 ด้านก็คือ "คันธกุมารชาดก"

อย่างภาพที่เห็นนี้ คันธกุมารที่เป็นลูกกำพร้าถามถึงพ่อจากแม่ที่เห็นคอนหาบอยู่  แม่ก็เลยพาไปชี้ให้ดูรอยเท้าช้าง   แล้วเล่าว่าพอแม่มากินน้ำจากรอยเท้าก็เลยท้อง แล้วคลอดคันธกุมารออกมา (ซะงั้น)

เรื่องของเรื่องก็คือช้างที่มาทิ้งรอยไว้ที่จริงคือพระอินทร์แปลงกายมา





เรื่องราวการผจญภัยในเมืองต่าง ๆ ของคันธกุมารที่วาดไว้ ก็สอดแทรกไปด้วยวิถีชีวิต บ้านเรือน ลักษณะเสื้อผ้าการแต่งกายของชาวน่านในอดีตเอาไว้ให้เราได้เห็น





อย่างภาพเรือกลไฟที่มีฝรั่งตะวันตกนั่งโดยสารมา ก็เหมือนเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ของการเข้ามาของชาวตะวันตกในยุคนั้น





ส่วนภาพที่โด่งดังจนห้ามพลาดที่จะมาชมก็คือ ภาพกระซิบรักภาพนี้  ที่มีคำบรรยายเขียนกำกับภาพไว้ว่า "ปู่ม่านย่าม่าน"
เรียกว่า ปู่กับย่า แต่ดูแล้วทำไมดูยังไม่แก่ ที่จริงคำว่า ปู่ย่า จะหมายถึง ผู้ชายผู้หญิงที่พ้นความเป็นเด็กมาแล้ว  ส่วนคำว่า ม่าน เป็นคำล้านนาที่หมายถึง คนพม่า

เพราะงั้นคำว่า ปู่ม่านย่าม่าน ที่ถูกเขียนกำกับไว้ก็หมายถึง หนุ่มสาวชาวพม่า นี่เอง





ในวันหยุดที่วัดจะมีน้อง ๆ ยุวมัคคุเทศก์มาคอยบรรยายประวัติวัด และภาพจิตรกรรมแต่ละด้านให้เราฟัง  เพราะงั้นบนผนังอีกด้านที่เขียนเรื่อง เนมิราชชาดก ที่พระอินทร์สั่งให้พระวิษณุกรรม พาพระเนมิราช ไปทัวร์สวรรค์กับนรก

ก็ลองให้น้องเขาเล่าให้ฟังว่า ที่ต้องไปตกนรกขุมนั้น ๆ เพราะไปทำเหตุอะไรกันมา  ตอนที่ไปดูเป็นน้องคนเล็กสุดที่เล่าได้เจื้อยแจ้วน่าเอ็นดูจนได้รับเสียงปรบมือเบา ๆ กันเกรียวกราว (อยู่ในวิหารน่ะ คนเลยไม่กล้าตบมือส่งเสียงดัง)





พูดถึงเรื่องนรกแล้ว  ด้านข้างวิหารยังมีสถูปเจดีย์อีกองค์หนึ่ง





ชื่อว่า สถูปเจดีย์พระมาลัยโปรดโลก





หลายคนคงคุ้น ๆ กับเรื่องพระมาลัย  ที่ว่ามีฤทธิ์ไปเที่ยวดูนรกสวรรค์ได้  แล้วท่านก็เอามาบอกสอนผู้คนว่าทำบุญทำกุศลอย่างไรถึงจะได้ไปสู่สวรรค์ หรือไปทำบาปอกุศลอะไรที่ทำให้ตกนรกชั้นนั้นชั้นนี้

เรื่องพระมาลัยมีเล่าถึงอยู่ในวรรณกรรมต่าง ๆ ในบ้านเราหลายต่อหลายสำนวน อย่างใน ไตรภูมิพระร่วง หรือ พระมาลัยคำหลวง ที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความเชื่อในเรื่องการทำบุญเพื่อไปสวรรค์ หรือการทำชั่วจะต้องตกนรก ของคนไทยเรา

รวมไปถึงความเชื่อที่ทำบุญก็เพื่อหวังผลให้ได้เกิดพบศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรย ที่เชื่อกันว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป





แต่พอเห็นรูปปั้นพระมาลัยลงไปโปรดสัตว์นรกของที่นี่  ดูไปแล้วไม่เห็นว่ามีใครหันไปหาพระเลยสักคนทั้งที่พระมาแล้ว  มัวแต่ไหว้อะไรไม่รู้รอบไปหมดยกเว้นพระ

ก็ชวนให้คิดว่าคนปั้นรูปอาจจะบอกเตือนเราอยู่ว่า  ศาสนาของพระสมณโคดมก็มีอยู่ต่อหน้าต่อตาแท้ ๆ  แต่ไม่สนใจ  กลับหันหลังให้แล้วมัวแต่ไปรอศาสนาของพระศรีอาริย์ที่ก็ยังไม่รู้ว่าจะมาถึงเมื่อไหร่  ระหว่างที่รอนี่ก็ไม่รู้จะต้องตกนรกไปอีกคนละกี่รอบ





ก่อนเข้าไปชมในวิหารที่วัดภูมินทร์ เจอศิลปินตัวน้อยกำลังวาดภาพบนเสื้ออยู่





กลับออกมาอีกทีภาพก็วาดเสร็จ กำลังจะลงวันที่วาดพอดี
ใครอยากจะอุดหนุนงานฝีมือที่มีคุณค่าเพราะได้เห็นตั้งแต่ตอนลงมือทำแบบนี้ก็แวะไปกันได้ตรงด้านหลังวิหาร





จากลานหน้าวัดภูมินทร์มองออกไปก็จะเป็นวัดพระธาตุช้างค้ำ  เดินข้ามถนนไปชมกันต่อได้เลย

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเพาะเห็ดฟางในตระกร้า


1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด

2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า

3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ

4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1

5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า

6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง

7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย

8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น

9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า

รูปแบบกระโจมที่ใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
กระโจมแบบเต็นท์ลูกเสือ

กระโจมแบบสุ่มไก่

facebook